วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วัดชลประทาน (หัวฝาย) อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

 

มีความเชื่อว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งทัพของสมเด็จพระเนรศวรมหาราช  ข้าพเจ้าเชื่อว่าอาจเป็นสถานที่สวรรคตของพระองค์ก็ได้ ถึงแม้พงศาวดารหลายฉบับกล่าวไว้ว่าน่าจะเป็นในพื้นที่ อ.เวียงแหง หรือในรัฐฉาน เนื่องจากมีการกล่าวถึงสถานที่สวรรคตว่าอยู่ชานเมืองเชียงใหม่และบริเวณหน้าวัดนี้เดิมเป็นทุ่งนากว้างติดกับเนินสูงของบริเวณวัดซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่าดอยสามเส้า ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมาจากสมัยก่อนนิยมเอาก้อนหินสามก้อนมาใช้ก่อไฟหุงตุ้มแต่ถามแม่แล้วบอกว่าที่มาของชื่อสามเส้ามาจากเนินสามลูกกลางทุ่งนากว้าง เนินแรกบริเวณวัด เนินที่2 คือบริเวณถ้ำที่เชื่อกันว่าเป็นที่ซ่อนสมบัติ แม่เคยเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนมีชาวบ้านทอดแหได้หีบเงินหีบทองเพราะหน้าถ้ำเป็นลำธาร  เนินที่ 3 คือบริเวณด้านหน้าปัจจุบันคือป่าช้า) ติดกับวัดมองลงตีนเขาก็มีแหล่งน้ำสำหรับช้างม้าสะดวกสบาย ซึ่งพื้นที่วัดนี้ก็มีลักษณะใกล้เคียงและน่าจะมีความเป็นไปได้เช่นกัน  เนื่องจากหากอ้างอิงตามพงศาวดารคำให้การของขุนหลวงหาวัดกล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปสักการะพุทธบาทฮังฮุ้ง(หมายถึงรังของนกรุ้งซึ่งสามารถหาอ่านได้จากตำนานพระบาทสี่รอย) ปัจจุบันคือวัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อเสด็จกลับลงมาก็ประชวรและสวรรคต บางตำนานก็กล่าวว่าระหว่างทางเสด็จกลับที่ประทับทอดพระเนตรเห็นเจ้าแม่ตะเคียนแต่ไม่แสดงความเคารพเพราะเป็นผู้หญิง จึงถูกต่อหรือแตนต่อยบริเวณพระพักตร์ต่อมาก็ประชวรและสวรรคต บางตำนานก็กล่าวว่าเป็นประชวรและสวรรคตเพราะเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก บ้างก็ว่าเป็นไข้มาลาเรีย(ไข้ป่า)สวรรคต) ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อเท็จจริงหรอกแต่เท่าที่รู้คือระยะทางระหว่างวัดและพระบาทสี่รอยค่อนข้างไกล แต่มีต้นตะเคียนต้นใหญ่อยู่ติดกับถนนบริเวณต.สะลวงนอก เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแถบนี้ เคยมีคนพยายามตัดเพื่อขยายถนนแต่ก็ตัดไม่ได้และมีอันเป็นไปเขาจึงปล่อยให้ต้นตะเคียนใหญ่มีอยู่จนถึงทุกวันนี้แต่ก็ไม่น่าจะอายุถึง 400 ปี ต้นไม้นี้อยู่บริเวณม่อนกาหลงใครๆก็รู้จัก  สังเกตได้จากของเซ่นไหว้และชุดแม่นางตะเคียนที่คนนำมาถวาย  หลายคนบอกว่าทางนี้ไม่ใช่ทางหลักที่ใช้เดินทางไปรบแต่แม่เล่าฟังว่าสมัยก่อนแม่อายุ15-16 เคยเจอทหารญี่ปุ่นไล่จับตัวชาวบ้านอยู่ น่าจะเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไปรบกับพม่าได้เช่นกันค่ะ

                        ตำนานของวัดชลประทานหัวฝาย เดิมชื่อวัดดอนชัย ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งมาก่อน  ต่อมาพระอาจารย์ทองคำบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่  อยู่ได้สามสิบปีก็ไม่สามารถอยู่ได้เนื่องจากสมัยนั้นผีดุมาก ขนาดใช้เครื่องปั้นดินเผาเขียนเป็นอักขระล้านนาขว้างลงมา  ชาวบ้านจึงเห็นว่าพระจะอยู่ไม่ได้จึงมานอนเป็นเพื่อนพระแล้วก็พากันกล่าวท้าทายผี  ผีก็เขียนอักขระขว้างลงมาอีก  จนชาวบ้านทนอยู่ไม่ได้จึงมีมติให้ย้ายวัดจากเนินเขาสูงลงมาตั้งบริเวณที่ต่ำขณะนี้  เนื่องจากมีลำคลองไหลผ่านบริเวณกลางวัดมีน้ำท่าสะดวกสบาย  ต่อมาท่านเจ้าคุณอุดมวุฒิคุณซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอแม่ริมในสมัยนั้น  จึงมีมติร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอแม่ริมให้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดชลประทาน แปลว่า วัดที่มีคลองลัดผ่านกลางวัด  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ตำนานว่าพระนเรศวรมหาราช ได้ยกทัพไปตีพม่าแล้วให้จัดตั้งเป็นค่ายพักแรมทัพที่นี่เนื่องจากชัยภูมิดี ส่วนดอยกู่ ใกล้ๆ กับดอยสามเส้าได้นำเอาสมบัติมาฝังแล้วก่อสถูปเจดีย์ครอบปิดปากหลุมเอาไว้อีกทีหนึ่งเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาอาจถูกลักลอบขุดค้น ปัจจุบันยังคงเหลือเพียงหลุมดินและเศษซากอิฐเก่าที่เป็นแนวกันดินรอบปากหลุมไว้ให้เป็นหลักฐานได้เท่านั้น

 

 พระครูชลธารรัตนารักษ์(ท่านแก้ว) เจ้าอาวาส

ศาสนสถานและสิ่งต่างๆในวัด

1.วิหารอยู่บนเนินเขา ใช้โครงสร้างปูนแบบใหม่ไม่ใช่วิหารทรงล้านนาน่าจะสร้างประมาณ 30  ปีแล้ว ประดับตกแต่งด้วยลายปูนปั้น มีภาพเขียนสีน้ำมัน ไม่ทราบชื่อสล่าผู้สร้างแต่ชื่อจิตรกรรมฝาผนังได้จารึกชื่อไว้

ภาพเขียนโดยประเสริฐศิลป์ บ้านทรายมูล ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง โทร 372064 ด้านหน้าเป็นรูปเทวดา ด้านในเป็นพุทธประวัติและทศชาติชาดก

พระประธานเป็นรูปทรงยุคใหม่น่าจะสร้างพร้อมวิหาร

บานประตูเป็นไม้สักแกะสลักรูปเทวดา บานหน้าต่างลายเถาดอกพุดตานฐาน 12 นักษัตริย์ ไม่ทราบชื่อสล่า




2.พลับพลาพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างด้วยไม้สัก สล่าแก้วสร้างโครงสร้าง ออกแบบตกแต่งโดยสล่า อนุรักษณ์ รักษาหรือสล่าแม็ก ฉัตรพลับพลาก็เป็นฝีมือของสล่าแม็กเช่นกัน

                ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น รูปปั้นพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยา 2 แบบซึ่งมาจากช่าง 2 ที่ และโกฏอัฐิที่ได้รับมาจากมาดามมัสซู (คลิปภาพและคำอธิบายจากท่านเจ้าอาวาส คลิก)

                2.1 รูปปั้นพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยา สร้างจากภาพวาดจอมเจ้าฟ้าพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยาซึ่งจิตรกรจากชลบุรีวาด ตอนแรกวาดได้แต่ตัว ในส่วนของพระพักตร์ไม่สามารถวาดได้ จึงมาปรึกษาท่านแก้วจึงแนะนำให้จุดธูป 16 ดอกและสวดคาถาพระองค์ท่านจิตจึงเกิดนิมิตรวาดภาพนี้ขึ้นมาได้ ต่อมาได้นำภาพนี้ลงในกลุ่มแล้วโยมคนหนึ่งที่อิตาลีเห็นจึงค้นหาวัดนี้เนื่องจากเกิดนิมิตรเห็นภาพนี้ เมื่อติดต่อทางวัดได้ก็เลยมากราบและสามีหายจากอาการป่วยอย่างปาฏิหาริย์จึงขอเป็นเจ้าภาพปั้นรูปปั้นองค์นี้ หล่อจากภาพวาดต้นฉบับแต่เปลี่ยนเครื่องทรงเป็นอยุธยาตอนปลาย ผู้ที่หล่อคือโรงหล่อพระเนรศนครปฐม

                2.2 รูปปั้นพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยา โยมจากดอยหล่อได้แบบมาหล่อแล้วจึงยกมาถวายวัด เพื่อให้กิจการดีขึ้น

                2.3 เกล็ดอัฐิของพระพี่นางเธอสุพรรณกัลยาจากวัดใจกะเลา หงสาวดี มาดามมัสซูได้นำมาถวาย


3.พระสิวลี สร้างโดยพระช่างสิวลี



4.หอพระฤษีพรหมณ์เมศ  สร้างโดยสล่าประเสริฐ ผ่องเดช



5.หลวงปู่ทวด สล่าประเสริฐ ผ่องเดช

6.พระพุทธรูปปูนปั้นปางเปิดโลกสูง 5 เมตร สล่าแม็ก



7.ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นำเมล็ดมาปลูกจากพุทธคยา ปี 2557 หลวงพ่อพระครูวรดำรง วัดลัฏฐวัน ปลูกถวายเป็นพุทธบูชา



ตีนเขายังมีร่องรอยป่ารกและเถาวัลย์เส้นโตพาดพันอยู่บ้าง


                        

บริเวณด้านล่างเนินเขายังปรากฏ ศาสนสถานเช่นอุโบสถ กุฏิ แต่ที่สวยงามน่าจะเป็นรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ 2 องค์ ซึ่งข้าพเจ้าเห็นตั้งแต่เด็กน่าจะสร้างมานานมากกว่า 30 ปีแล้ว ไม่ทราบชื่อสล่า  นอกจากนี้ก็มีกุฏิเก่าทำด้วยไม้คล้ายบ้านคน อุโบสถปูนประดับกระจกขนาดเล็ก รูปปั้นพระฤษี โรงเก็บของ ซึ่งหากจะไปต้องข้ามสะพานเล็กๆ

 


 

                                   

อุโบสถกำลังก่อสร้าง ซึ่งสร้างโดยทีมงานลานนาศิลป์

                                  

อุโบสถสร้างโดยสล่าแม็ก ล้านนาศิลป์ ปูนปั้นใช้เทคนิคปั้นสด ไม่ได้ร่างแบบ





ขอขอบคุณ:

พระครูชลธารรัตนารักษ์(ท่านแก้ว) เจ้าอาวาส

ล้านนาศิลป์ โดย ช่างอนุรักษณ์ รักษา(สล่าแม็ก)

https://www.matichonweekly.com/column/article_338287

https://www.chiangmaitouring.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%A2/




พระครูชลธารรัตนารักษ์(ท่านแก้ว) เจ้าอาวาส

ประชาสัมพันธ์ว่าขณะนี้กำลังสร้างเจดีย์สามมหาราชชนะชัย ผู้มีจิตศรัทธาสามารถสมทบทุนสร้างเจดีย์สามมหาราช ชนะชัย

กสิกรไทย 115-3-56148-2 วัดชลประทานบ้านหัวฝาย ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

พระครูชลธารรัตนารักษ์(ท่านแก้ว) โทร 062-9536919




ล้านนาศิลป์ โดย ช่างอนุรักษณ์ รักษา(สล่าแม็ก) 

อ่านเรื่องราวสล่าผู้ฟื้นฟูศิลปะงานปูนปั้นรูปแบบล้านนาโบราณให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ผู้อยู่เบื้องหลังศิลปะปูนปั้นวัดสำคัญในเชียงใหม่มากมาย 

ประสบการณ์การทำงานด้านพุทธศิลป์20กว่าปี

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


วัดในอำเภอแม่ริม Maerim Temple


มหานิกาย
ตำบลขี้เหล็ก
ตำบลดอนแก้ว
ตำบลโป่งแยง
ตำบลแม่แรม
ตำบลแม่สา
ตำบลริมใต้
ตำบลริมเหนือ
ตำบลสะลวง
ตำบลสันโป่ง
ตำบลห้วยทราย
ตำบลเหมืองแก้ว
ธรรมยุติกนิกาย
ตำบลขี้เหล็ก
ตำบลริมเหนือ
ตำบลสะลวง

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วัดปิยาราม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ PiyaRam Temple Chiangmai

                                     






 ลายฉลุไม้ที่อยู่ตรงหน้าบรรณศาลาหลังนี้ ข้าพเจ้าจำได้ว่าสิบปีที่แล้ว หน้าบรรณไม้ฉลุนี้เคยเป็นซุ้มประตูทางเข้าของวัดปิยาราม ต่อมาทางวัดคงเอาออกเพราะว่ารถคันใหญ่ๆ ไม่สามารถเข้าวัดได้เพราะติดซุ้มประตู

17-7-54
วันที่ไปวัดปิยารามวันนั้นจำได้ว่าอากาศมืดทึบเนื่องจากฝนตกติดต่อกันมาหลายวัน ข้าพเจ้าเดินทางไปสำนักพุทธฯ เชียงใหม่วันก่อนเพื่อขอข้อมูลประวัติวัดในจงเชียงใหม่ แต่สำนักพุทธฯมีหนังสือเพียงเล่้มเดียวไม่สามารถให้บืมออกไปได้ หากจะยืมต้องทำเป็นหนังสือ ข้าพเจ้าออกเดินทางไปสืบหาข้อมูลประวัติวัดจากเชียงใหม่ทุกหน่วงาน ไม่ว่าจะเป็นหอจดหมายเหตุหรือที่อื่น แต่ก็ทราบแต่เพียงข้อมูลว่าหน่วงานราชการจะเก็บประวัติเพียงวัดที่สำคัญ วัดใหญ่ๆ หรือวัดที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ข้าพเจ้าเคยไปวัดปิยารามเพื่อถ่ายรูปและสอบถามข้อมูลจากท่านเจ้าอาวาส ปรากฎว่า ท่านมีหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรไทยและมีประวัติวัดในเชียงใหม่ซึุ่งจัดทำจากกระทรวงศึกษาธิการ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นหนังสือเล่้มเดียวกับของสำนักพุทธฯ จึงมาขอยืมท่านเจ้าอาวาสวันนั้น เอาไปถ่ายเอกสารและคืนให้ท่านในตอนเย็น จึงมีโอกาสถ่ายภาพของวัดปิยรรามเพิ่มเติม แถมได้รับทราบจากท่านเจ้าอาวาสว่้า ตรงพื้นที่ตั้งพระสังขจายองค์ใหญ่ปัจจุบันนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งอุโบสถไม้สักเดิมที่ชำรุดไป ส่วนประวัติวัดปิยารามมี ดังนี้